วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทั้ง 10 ประเทศ


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทั้ง 10 ประเทศ

                แต่เดิมนั้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ยังเป็นเพียงกรอบความตกลงทางการค้า จากเวทีการเจรจาของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมุ่งเน้นเพียงความร่วมมือทางการค้า เพื่อชะลอการเปิดเสรีฯ ซึ่งสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศยุโรป พยายามจะรุกเข้ามาในตลาดของภูมิภาคนี้ การรวมกลุ่มกันเพื่อความเข้มแข็งจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างยาวนาน ของอาเซียน มีการส่งเสริมความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในหลายระดับ จึงได้พัฒนาต่อยอดเป็นมากกว่าเรื่องทางการค้า หรือเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังวางรากฐานที่จะเปิดประตูไปสู่ความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกันในมิติทางสังคม การเดินทางไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก และกระบวนการต่างๆ ก็เดินหน้าไปทุกขณะ แม้จะไม่เร่งรีบ แต่ก็มียุทธศาสตร์และ Road map วางไว้อย่างชัดเจน จนถึงปัจจุบันนี้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC มีผลในทางปฏิบัติมากขึ้นๆ และส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะต้องปรับตัวอย่างเหมาะสม และคอยติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด ไม่เพียงแค่ข้อมูลจากส่วนราชการเท่านั้น แต่ยังต้องแสวงหาโอกาส ความร่วมมือกันของกลุ่มองค์กรภาคเอกชน และภาคประชาสังคมอีกด้วย

                ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ได้ให้การรับรองและลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) ซึ่งรวมเรื่องการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลัก 3 เสาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยอีก 2 เสาหลัก คือเสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง (Political and Security Pillar) และเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Cultural Pillar)
                โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ยังเห็นชอบให้มีการรวมตัวเป็น AEC ภายในปี ค.ศ. 2020 โดยอาเซียนจะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานมีฝีมือโดยเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีขึ้น ในการนี้ ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้ เร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา เป็นสาขานำร่อง โดยมีประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Road map ในแต่ละสาขา ได้แก่
ไทย : การท่องเที่ยวและการบิน
พม่า : สินค้าเกษตรและสินค้าประมง
อินโดนีเซีย : ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้
มาเลเซีย : ยางและสิ่งทอ
ฟิลิปปินส์ : อิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และการบริการด้านสุขภาพ
                ในส่วนของไทยนั้น ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้เร่งรัดการจัดตั้ง AEC ให้เร็วขึ้นภายในปี ค.ศ. 2012 และเสนอว่าในการเร่งรัดการรวมตัวอาเซียนน่าจะใช้หลักการ Two Plus โดย 2-3 ประเทศที่พร้อมสามารถที่จะเปิดเสรีในภาคที่ตนมีความพร้อมไปก่อน และประเทศอื่นๆ สามารถเข้าร่วมเมื่อมีความพร้อมแล้ว ซึ่งในประเด็นนี้ นายกรัฐมนตรี สิงคโปร์ ได้กล่าวสนับสนุนข้อเสนอของไทยที่ให้เลื่อนระยะเวลาในการบรรลุประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้เร็วขึ้น โดยเห็นว่าน่าจะเป็นปี ค.ศ. 2015

                จากที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (Informal AEM) เมื่อวันที่ 19-20 มกราคม 2547 ที่ยอกยาการ์ตา มอบหมายให้ SEOM เป็นผู้เจรจาเรื่องการจัดทำ Road map สำหรับสินค้าและบริการ 11 สาขาดังกล่าว

                ที่ประชุม AEM Retreat ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 20-21 เมษายน 2547 ที่ประเทศสิงคโปร์ ได้ตกลงให้จัดทำ Framework Agreement สำหรับเรื่องการรวมตัวของสินค้าและบริการ 11 สาขา เพื่อเสนอให้ผู้นำอาเซียนลงนาม และ พิธีสารสำหรับแต่ละสาขาสำหรับให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ลงนาม ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ณ เมืองเวียงจันทน์ ในเดือนพฤศจิกายน 2547 นอกจากนี้ ยังเห็นชอบให้กำหนดให้ปี ค.ศ. 2010 เป็น deadline สำหรับการรวมตัวของสินค้าและบริการ 11 สาขา โดยให้มีการผ่อนปรนสำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) ได้

                ที่ประชุม AEM ครั้งที่ 36 ณ กรุงจาการ์ตา (3 กันยายน 2547) รับรองร่าง Road map สำหรับสินค้าและบริการ 11 สาขา ร่าง Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors และร่างพิธีสาร ASEAN Sectoral Integration Protocol สำหรับ Road map ทั้ง 11 สาขา ไว้ชั้นหนึ่งแล้ว และรับทราบว่าจะมีการประชุม SEOM อีกครั้งเพื่อพิจารณาสรุปผลการเจรจา Road map ในทุกสาขา นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบกับข้อเสนอที่ให้เร่งลดภาษีสินค้าใน Priority Sectors เร็วขึ้นจากกรอบ AFTA เดิม 3 ปี คือ จาก ค.ศ. 2010 เป็นปี 2007 สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และ ปี 2015 เป็น 2012 สำหรับประเทศ CLMV โดยได้กำหนดเพดานสำหรับสินค้าทั้งหมดใน Priority Sectors ที่ไม่ต้องการเร่งลดภาษี (Negative List) ไว้ที่ 15%

                ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อวันที่ 21-22 กันยายน 2547 ที่กรุงเทพฯ สามารถหาข้อสรุปในสาระสำคัญของทุก Road map ได้ ทั้งนี้ กรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการร่วมที่จะใช้กับการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญทุกสาขาและมีสาระสำคัญ ได้แก่ การเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การอำนวยความสะดวกด้านการค้า และการลงทุนและการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่นๆ ดังนี้




                (1) การค้าสินค้า - จะเร่งลดภาษีสินค้าใน Priority Sectors (เกษตร/ประมง/ผลิตภัณฑ์ไม้/ผลิตภัณฑ์ยาง/สิ่งทอ/ยานยนต์/อิเล็กทรอนิกส์/เทคโนโลยีสารสนเทศ/สาขาสุขภาพ) เป็น 0% เร็วขึ้นจากกรอบ AFTA เดิม 3 ปี คือ จาก 2010 เป็นปี 2007 สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และ ปี 2015 เป็น 2012 สำหรับประเทศ CLMV โดยได้กำหนดเพดานสำหรับสินค้าทั้งหมดใน Priority Sectors ไม่ต้องการเร่งลดภาษี (Negative List) ไว้ที่ 15%
                 (2) การค้าบริการ - จะเร่งเปิดเสรีสาขาบริการใน Priority Sectors (สาขาสุขภาพ, e-ASEAN, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ) ภายในปี ค.ศ. 2010 ทั้งนี้ ให้ใช้ ASEAN-X formula ได้
                (3) การลงทุน - จะเร่งเปิดการลงทุนในรายการสงวน (Sensitive List) ภายในปี 2010 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ปี ค.ศ. 2013 สำหรับเวียดนามและ 2015 สำหรับกัมพูชา ลาว และพม่า ทั้งนี้ ให้ใช้ ASEAN-X formula ได้ และส่งเสริมการผลิตในอาเซียนโดยการจัดตั้งเครือข่าย ASEAN free trade zones เพื่อส่งเสริมการซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตในอาเซียน  (outsourcing) และดำเนินมาตรการร่วมเพื่อดึงดูด FDI
                (4) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน - ซึ่งประกอบด้วยเรื่องต่างๆ คือ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากร มาตรฐาน (standard and conformance) การอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง และ logistics service สำหรับการขนส่ง การอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวในอาเซียน และ การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบวิชาชีพ และ แรงงานมีฝีมือ
                (5) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่นๆ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มรายสาขาของอาเซียน 11 สาขากำหนดมาตรการร่วม ซึ่งคาบเกี่ยวกับทุกสาขาเช่นเดียวกับในกรอบความตกลงฯ และมาตรการเฉพาะสำหรับการรวมกลุ่มแต่ละสาขานั้นๆ โดยรวมอยู่ในแผนการรวมกลุ่ม (Road map) ซึ่งผนวกอยู่กับพิธีสารฯ
                ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน (Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มรายสาขาของอาเซียน 11 ฉบับ (ASEAN Sectoral Integration Protocol) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2547 ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ทุกประเทศย้ำความสำคัญของการดำเนินการต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดการรวมตัวของอาเซียนให้เร็วขึ้น โดยอาจให้สำเร็จภายในปี 2555 (ค.ศ. 2012) และได้เสนอแนวทางต่างๆ เพื่อช่วยเร่งรัดการรวมตัว เช่น การใช้วิธีการ Two plus X ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เคยเสนอความจำเป็น และแนวทางนี้มาแล้วเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่บาหลี

1. AEC ประเทศกัมพูชา
                ประเทศกลุ่ม CMLV ที่เป็นส่วนหนึ่งของ ASEAN ด้วยตัว C คือ กัมพูชา (Cambodia)เพื่อการปะติดปะต่อเตรียมตัวต่อการเข้าสู่ AEC (ASEAN Economic Community) แล้วนำท่านไปทราบถึงส่วนลึกของสองจังหวัดใหญ่ของกัมพูชา คือ กรุงพนมเปญ และจังหวัดเสียมราฐ (เสียมเรียบ)และจังหวัดโดยรอบ จังหวัดพระตะบอง เคยเป็นดินแดนสํวนหนึ่งของประเทศไทยช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 กํอนที่ไทยจะเสียดินแดนให้แกํฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคมพ.ศ.2449 จึงยังมีคนเชื้อสายไทยหลงเหลืออยู่ ทาให้สามารถใช้ภาษาไทยสื่อสารได้และสามารถใช้สกุลเงินบาทของไทยจับจำยใช้สอยได้ จังหวัดพระตะบองมีความแตกต่างทางรายได้ที่เห็นได้ชัด อันเป็นผลมาจากการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่มาจากการถือครองที่ดิน โดยเฉพาะในหมู่เจ้านายข้าราชการ ทหารเขมรแดงเก่าที่อาศัยอยู่ตามตะเข็บชายแดน และมีรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำจากผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงรายได้จากการเช่าพื้นที่ทาการเกษตรจากคนไทย ส่วนภาคแรงงานก็มีแรงงานชาวพระตะบองที่เข้ามาทางานในประเทศไทยจำนวนมากมีทั้งถูกและผิดกฎหมายทาให้มีความคุ้นชินต่อสินค้าไทยและสินค้าไทยเป็นที่นิยมอย่างโดดเดํนทั่วทั้งพระตะบอง จึงอาจกล่าวได้ว่า ประเทศไทย มีความได้เปรียบเชิงพื้นที่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆจังหวัดพระตะบองยังมีจังหวัดอีกหลายจังหวัดอยู่รอบๆ ที่มีอาณาเขตติดกันเสมือนเมืองบริวาร เช่น จังหวัดบันเตียเมียนเจย จังหวัดโพธิสัต จังหวัดไพลิน และบางครั้งก็เลยไปถึงจังหวัดเสียมราฐบด้วยซึ่งรวมประชากรของกลุ่ํมจังหวัดนี้ถึง 2.17 ล้านคน และที่นำสนใจคือทุกจังหวัดมีพรมแดนติดต่อประเทศไทย ตั้งแต่อาเภอตาพระยาจังหวัดสระแก้ว ถึงอาเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด โดยเฉพาะจังหวัดบันเตียเมียนเจย มีเมืองเอกคือเมืองศรีโสภณ ที่เป็นที่พักสินค้าที่นาเข้าจากฝั่งโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วของประเทศไทย และในจังหวัดบันเตียเมียนเจยนี้เองมีโครงการเขตนิคมอุตสาหกรรมเขตปอยเปตโอเนียง หรือ POSEZ” หำงจากชายแดนไทยประมาณ 10 กิโลเมตร จะมีอุตสาหกรรมในเรื่อง สิ่งทอ การแปรรูปการเกษตร เครื่องนุํงห่มและเสื้อผ้าสาเร็จรูป เครื่องจักรกลการเกษตร และเครื่องจักรด้านพลังงาน ส่วนจังหวัดไพลินอยู่ติดจังหวัดจันทบุรีของประเทศไทยตรงข้ามด่านชายแดนถาวรบ้านผักกาด ประมาณ 22 กิโลเมตร เศรษฐกิจหลักคือการเกษตรกรรมและการปศุสัตว์ และมีแหลํงพลอยที่ใหญ่ที่สุดแต่ปัจจุบันทางการไม่อนุญาตให้ขุดพลอยแล้ว จังหวัดโพธิสัตว์เป็นจังหวัดเป้าหมายที่มีการลงทุนระบบชลประทานด้วยการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าและเป็นแหล่งสำรองพลังงานไฟฟ้าของประเทศ







2. AEC ประเทศพม่า
                การเปิดประเทศของพม่าช่วงที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนต่างประเทศหลายแห่งสนใจ ทั้งสหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น รวมถึงกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน เนื่องจากพม่ายังมีทรัพยากรธรรมชาติจานวนมาก ทั้งแหล่งปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรม ส่งผลให้ประเทศคู่แข่งผลิตปาล์มน้ำมัน หรือ ยางพารา ของไทย เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซียนางนฤมล ขรภูมิ ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า ขณะนี้ ทางการพม่าได้เปิดสัมปทานให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปเช่าพื้นที่ปลูกพืชทางการเกษตรได้นับล้านไร่ ในบริเวณเขตพื้นที่ย่านตะนาวศรี หรือพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศพม่า โดยทางการพม่าได้มีการแบ่งเขตโซนการเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดอย่างชัดเจน ซึ่งขณะนี้ ได้มีการประกาศให้ผู้สนใจสามารถเข้าไปติดต่อแจ้งความประสงค์ขอเช่าพื้นที่เพื่อเข้าไปปลูกพืชเกษตรตามโซนที่กำหนด จากการเข้าไปสารวจก่อนหน้านี้พบว่ามีพื้นที่ ที่เหมาะสาหรับปลูกพืชทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก ที่ทางการพม่าเปิดให้เอกชนจากต่างชาติเข้าไปเช่าพื้นที่ แต่พบว่ายังมีรายละเอียด ขั้นตอนและเงื่อนไขต่างๆ ที่ทางการพม่าได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้ อาทิเช่น จะต้องมีการถ่ายทอดความรู้ด้านการเพาะปลูก การกรีดยาง การทายางแผ่นให้กับชาวพม่าที่สนใจเป็นต้น รวมถึงระเบียบการนำสินค้าที่ผลิตได้ออกนอกประเทศที่ทางการพม่าค่อนข้างจะมีกฎเกณฑ์ที่ละเอียดมาก จำเป็นที่จะต้องศึกษาในรายละเอียด เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหา แต่สิ่งที่จูงใจสาคัญ คือ แรงงานที่มีราคาถูก รวมถึงอัตราค่าเช่าที่ดินที่พม่ากาหนดให้เช่าได้ในระยะยาว 10-30 ปี ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จูงใจ  

                ดังนั้น เพื่อให้ภาคเอกชนที่สนใจเข้าใจในกฎเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ทางหอการค้าจังหวัดระนอง จึงได้ประสานไปยังหอการค้า จ.เกาะสอง เพื่อร่วมหารือนอกรอบเพื่อพูดคุยในรายละเอียดที่ยังเป็นที่สงสัย ก่อนที่จะเอกชนจาก ระนองจะตัดสินใจเข้าไปเช่าพื้นที่ปลูกพืชเกษตรในฝั่งประเทศพม่า ซึ่งพบว่ามีพื้นที่ที่เหมาะสม อยู่ติดแนวพรมแดนด้าน จ.ระนองกว่าแสนไร่ ซึ่งหากสามารถดาเนินการในเงื่อนไข และกฎระเบียบได้ก็จะส่งผลดีต่อการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มของเกษตรกรที่สนใจจากประเทศไทยที่จะเข้าไปปลูกปาล์มน้ำมันขณะนี้  มีความเคลื่อนไหวจากประเทศคู่แข่งอุตสาหกรรมปาล์มของไทย คือ ประเทศมาเลเซีย ได้เข้ามาเช่าสัมปทานพื้นที่ปลูกปาล์มในประเทศพม่าในย่านเขตตะนาวศรี ที่มีพรมแดนติดกับจังหวัดระนองถึงจังหวัดเกาะสองแล้วไม่ต่ากว่า 200,000 ไร่ เพราะนโยบายและการสนับสนุนของรัฐบาลมาเลเซีย ที่ต้องการขยายพื้นที่การปลูกปาล์มออกนอกประเทศ เนื่องจากพื้นที่ในประเทศที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับได้อีกต่อไป ประกอบกับประเทศพม่ากาลังเปิดกว้างให้นักลงทุนจากต่างชาติเข้าไปเช่าพื้นที่ในประเทศพม่าเพื่อปลูกพืชเกษตรได้ โดยเฉพาะปาล์มน้ามัน และยางพารา ก่อนหน้านี้ ภาคเอกชนไทย รวมถึงตนเองก็ได้เดินทางเข้าไปยังประเทศพม่ามาแล้วครั้งหนึ่ง เพื่อดูสภาพพื้นที่ ที่รัฐบาลทหารพม่าประกาศให้สัมปทานระยะยาวในการปลูกพืชด้านการเกษตรโดยเฉพาะปาล์มน้ามัน และยางพาราในย่านเขตตะนาวศรีนับล้านไร่ ซึ่งโดยสภาพพื้นที่มีความน่าสนใจมาก เพราะมีสภาพภูมิศาสตร์ ทาเลที่ตั้งที่เหมาะแก่การปลูกปาล์ม หรือยางพาราเป็นอย่างมาก ซึ่งมีเอกชนไทย ให้ความสนใจเป็นอย่างมากเช่นกัน แต่ที่ผ่านมา ยังไม่กล้าเข้าไปเนื่องจากหวั่นเกรงเรื่องนโยบายของรัฐบาลทหารพม่าที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง หากเข้าไปลงทุนมากๆ โดยไม่มีหลักประกันถือเป็นการเสี่ยงเกินไปที่จะเข้าไป แต่จากที่ราคาสินค้าทางการเกษตรขยับพุ่งสูงขึ้น อีกทั้งผู้ที่เข้าไปก่อนหน้านี้ ไม่มีปัญหาแต่ประการใด ทาให้ขณะนี้ ภาคเอกชนและนักลงทุนจากไทยต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการหาพื้นที่ปลูกพืชเกษตรอย่างปาล์มน้ามันที่มีราคาสูงอยู่ในขณะนี้ รวมถึงยางพารา



























3. AEC ประเทศลาว
                การสัมมนา โอกาสและประสบการณ์การลงทุนของ SMEs ไทยใน สปป.ลาวที่จัดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ และสมาคมลาว-ไทยเพื่อมิตรภาพที่ผ่านมา นำนักธุรกิจผู้เชี่ยวชาญ ในธุรกิจเอสเอ็มอีใน สปป.ลาว มาเปิดเผยถึงโอกาสของการเข้าถึงตลาดใหม่ในประเทศเพื่อนบ้าน

เสถียรภาพการเมืองลาวมั่นคง
                นายบดินทร์ สาระโนทยาน กรรมการบริหารเครือบริษัทเทมปลาร์ จำกัด ผู้บุกเบิกธุรกิจสัมปทานป่าไม้ในสปป.ลาวในยุคเริ่มแรกเมื่อ 19 ปีก่อน พร้อมกับเริ่มกรุยทางธุรกิจโรงแรม กล่าวว่า ต้องเข้าใจธรรมชาติหรือวัฒนธรรมของ สปป.ลาวเสียก่อนและต้องเข้าใจทิศทางการพัฒนาแผนแม่บททางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว ว่าค่อยเป็นค่อยไปแต่ชัดเจน นักลงทุนไม่ควรกังวลต่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของลาว ข้อดีที่ส่งเสริมการเข้ามาทำธุรกิจใน สปป.ลาวอย่างยิ่งคือ เสถียรภาพทางการเมืองของลาวมั่นคง และผู้เข้ามาลงทุนสามารถใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากร หรือยกเว้นภาษีเป็น 0% ในการผลิตเพื่อส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐฯ ได้เต็มที่ด้านคำแนะนำต่อธุรกิจการโรงแรม นายบดินทร์กล่าวว่า สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอันดับแรกคือการเช่าที่ดิน ซึ่งค่อนข้างหาได้ลำบาก และต้องเข้าใจว่าการโรงแรมซึ่งพึ่งพาการท่องเที่ยวของลาวขึ้นอยู่กับเสถียรภาพการเมืองไทยสูง เพราะที่ลาวไม่มีสนามบินขนาดใหญ่ นักท่องเที่ยวต้องเดินทางเข้า ผ่านทางไทยหรือเวียดนาม พิษการเมืองไทยที่ผ่านมาทำให้โรงแรมในเวียงจันทน์ร้างมาแล้วช่วงก่อนหน้านี้

มองนโยบายรัฐ ก่อนจับธุรกิจใหม่
                นายณฐพล ปัญจศิลา ผู้อำนวยการ บริษัท รุ่งเรืองลาวโลจิสติกส์ ผู้บุกเบิกธุรกิจโลจิสติกส์ใน สปป.ลาวแนะนำว่า คอนเน็กชั่นในการทำธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญมาก นับแต่แรกเริ่มจนปัจจุบัน ธุรกิจขนส่งวัสดุก่อสร้างในลาวยังทำรายได้ดี เนื่องจากลาวมีโครงการก่อสร้างจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญด้านการคมนาคมมีสูง ต้องสำรวจเส้นทางให้ชำนาญปัจจุบันประเทศลาวกำลังพัฒนา แต่ก็คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย ช่องทางการจับธุรกิจใหม่ ๆ หากมองถึงนโยบายของรัฐ มีแนวโน้มไปได้ดี ประสบการณ์ส่วนตัวที่จับธุรกิจใหม่อีกด้านคือ การสร้างพื้นที่การกีฬาและเก็บค่าเช่าแก่ผู้ออกกำลังกาย ทั้งสนามฟุตบอลหญ้าเทียมและสระว่ายน้ำ ซึ่งสร้างบนพื้นที่ 7 ไร่ใจกลางเมือง ธุรกิจนี้เป็นไปได้ดี และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่สนับสนุนการกีฬา

ตลาดใหม่ กำลังซื้อสูง
                นายฉัตรพลชัย ปัญญาธรรมบดี ผู้อำนวยการบริษัท มหทุนเช่าสินเชื่อ ดำเนินกิจการธุรกิจเช่า-ซื้อจักรยานยนต์ใน สปป.ลาวมา 11 เดือน ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก กล่าวว่า ตลาดลาวไม่ใหญ่ ข้อเสียอยู่ที่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนชัดเจนขั้นต้นต้องเรียนรู้อุปนิสัยพฤติกรรมผู้บริโภคลาวให้ชัดเจนคือ ไม่ชอบเป็นหนี้ สังเกตได้จากป้ายทะเบียนรถใน สปป.ลาว ที่มีแต่ป้ายสีเหลืองเต็มไปหมด เพราะหมายถึงซื้อเงินสด ส่วนป้ายสีขาวคือซื้อเงินผ่อน ซึ่งคนลาวจะอายมากหากต้องขับรถป้ายทะเบียนสีขาว คุณภาพหนี้ในลาวดีมาก ไม่มีหนี้เสียอย่างแน่นอนนายฉัตรพลชัยมองว่า หากทำธุรกิจเช่า-ซื้อที่ สปป.ลาวจะพบขาขึ้น อีก 5 ปีรวยแน่นอน เพราะยังมีกำลังซื้อสูง แม้คนลาวจะมีรายได้ไม่มาก แต่กล้าซื้อ และต่อต้านการใช้ของลอกเลียนแบบ ใช้แต่ของแท้เท่านั้น หากต้องการเข้ามาลงทุน การบ้านที่ต้องทำ คือศึกษาข้อกฎหมายของลาวให้ดี เพราะข้อกฎหมายของลาวซึ่งต่างจากไทยที่พบในช่วงแรก คือลาวไม่มีกฎหมายเช่าซื้อ เมื่อจดทะเบียนทำธุรกิจเช่าซื้อจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นเช่าสินเชื่อ อิงตามกฎหมายเช่าสินเชื่อของลาว

ขยายธุรกิจสู่อาเซียน
                นายโกสินธ์ ศรีศักดิ์ ตัวแทนเจ้าของธุรกิจร้านอาหารออนซอน และร้านกาแฟ Cash มองว่า ธุรกิจอาหารใน สปป.ลาวไม่ซับซ้อนอุปสรรคมีเพียงการเสาะหาทำเลที่เหมาะสม เนื่องจากอัตราค่าเช่าในเวียงจันทน์สูง และที่จอดรถไม่เอื้ออำนวย หนทางไปสู่การประสบความสำเร็จของนักธุรกิจไทยใน สปป.ลาว คือต้องใช้ประโยชน์จากการที่คนไทยกับลาวคล้ายคลึงกันอย่างมาก ชอบบริโภคสินค้าไทย ชอบทำธุรกิจแบบผูกมิตรและช่วยเหลือพึ่งพากัน

















4. AEC ประเทศสิงคโปร์
                สิงคโปร์มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับโอกาสจากการเติบโตของอุตสาหกรรมไอซีทีมาอย่างต่อเนื่องกว่า30 ปี โดยในปัจจุบันมีการดาเนินแผนยุทธศาสตร์การสร้าง โลกาภิวัตน์อัจฉริยะนครที่จะแล้วเสร็จในปี 2015 โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจสิงคโปร์ในการใช้ประโยชน์จากการพัฒนาด้านสารสนเทศและการสื่อสาร(Infocomm) เพื่อการพัฒนานวัตกรรมการแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจ และการขยายตลาดในต่างประเทศ

ความสาเร็จของการเตรียมความพร้อมของรัฐบาลสิงคโปร์
                เห็นได้จากผลสารวจการใช้ประโยชน์ด้านสารสนเทศและการสื่อสารของธุรกิจในปี 2010 ที่พบว่าสัดส่วนของธุรกิจสิงคโปร์ที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงถึง 79% และ 77% ตามลาดับ โดยธุรกิจประมาณ 60% มีการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งและมีธุรกิจที่ใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์และมีการพัฒนาเว็บไซต์ขององค์กรสูงถึง 73% และ 41% ตามลาดับ ซึ่งจากข้อมูลยังพบว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมสารสนเทศและการสื่อสารมีความพร้อมด้านนี้ถึง 100%

ธุรกิจของสิงคโปร์
                9 ใน 10 องค์กร มีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการส่งและรับอีเมล และการค้นหาข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ยังพบว่ามีธุรกิจจานวนมากขึ้นเรื่อยๆที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อพัฒนาความร่วมมือภายในองค์กรอาทิการใช้งานระบบซอฟต์แวร์ร่วมกัน หรือการประชุมผ่านวิดีโอ เป็นต้นในด้านการใช้สมาร์ตโฟน พบว่า ธุรกิจที่มีการจ้างงานไม่ถึง 10 คนถึงกว่า 81% มีการใช้บริการสมาร์ตโฟน อาทิ การส่งข้อความสั้น (SMS)ในการเข้าถึงลูกค้า ซึ่งจานวนนี้มาจากอุตสาหกรรมค้าปลีกและค้าส่งถึง22% นอกจากนี้มีธุรกิจถึง 43% ที่ใช้สมาร์ตโฟนในการรับส่งอีเมล โดยที่เหลือใช้เพื่อการค้นหาข้อมูลและการพูดคุยผ่านข้อความออนไลน์

จากข้อมูลยังพบอีกว่า
                52% ของธุรกิจใช้บริการการชาระเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการใช้บริการดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆในสิงคโปร์ สาหรับการฝึกอบรมด้านสารสนเทศและการสื่อสารให้กับพนักงานพบว่า มีธุรกิจของสิงคโปร์ประมาณ 17% ที่ลงทุนฝึกอบรมด้านนี้ ให้กับพนักงาน โดยพบว่าธุรกิจขนาดใหญ่จะให้ความสาคัญสูงกว่าธุรกิจขนาดเล็กและยังพบข้อมูลว่าธุรกิจสิงคโปร์เกือบทั้งหมดมีการเพิ่มจานวนวันและค่าใช้จ่ายในด้านการฝึกอบรมให้กับพนักงาน โดยธุรกิจขนาดใหญ่จะมีการลงทุนในด้านนี้สูงถึง 2 ล้านบาทต่อองค์กรต่อปี

                นอกจากนี้ จากผลการสารวจอุตสาหกรรมสารสนเทศและการสื่อสารของสิงคโปร์ปี2010 ยังได้ชี้ให้เห็นถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมด้านนี้ของสิงคโปร์เป็นอย่างดี โดยพบว่าอุตสาหกรรมสารสนเทศและการสื่อสารของสิงคโปร์มีรายรับมูลค่าเกือบ1.8 ล้านล้านบาท เติบโตสูงขึ้น 12% จากปีก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์มีสัดส่วนสูงสุดคิดเป็น 53% ในขณะที่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และการให้บริการโทรคมนาคมมีสัดส่วนเท่ากันที่ 16%

สาหรับตลาดภายในประเทศ
                มีมูลค่าเกือบ 6 แสนล้านบาท เติบโตสูงขึ้น 7% โดยมีอุตสาหกรรมบริการโทรคมนาคมมีสัดส่วนสูงสุดคิดเป็น 34%รองลงมาคือการบริการไอที 28% ฮาร์ดแวร์ 25% และซอฟต์แวร์ 8%ในตลาดต่างประเทศ พบว่า รายรับจากการส่งออกมีมูลค่า 1.2 ล้านบาท เติบโตสูงขึ้น 15% โดยมีอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ครองสัดส่วนสูงสุด67% รองลงมาคือซอฟต์แวร์ 20% การบริการโทรคมนาคม 20% บริการไอที 4% และบริการคอนเทนต์ 1% รายได้จากการส่งออกมากกว่าครึ่งมาจากการส่งออกไปยังประเทศในเอเชียด้วยกัน โดยมีภูมิภาคอาเซียนเป็นตลาดหลัก 20% ซึ่งสาหรับตลาดในอาเซียน สิงคโปร์มีการส่งออกไปยังอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีสัดส่วนรวมกันสูงถึง 65%
                จากข้อมูลสถิติต่างๆ ที่กล่าวมา เราคงพอคาดการณ์ได้ว่าเมื่อถึงปี 2015 ซึ่งเป็นปีที่โลกาภิวัตน์อัจฉริยะนครเสร็จสมบูรณ์ สิงคโปร์คงได้ฉลองเอกราชครบ 50 ปีไปพร้อมๆ กับการประกาศเอกราชเหนือประชาชาติดิจิตอลในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแบบเบ็ดเสร็จ

















5. AEC เวียดนาม
                เวียดนาม หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วพร้อมๆไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความรุดหน้าในหลายประเภทสินค้าแม้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมาจะเริ่มมีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจแต่การขยายตัวในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสสองของปีนี้ก็ดีขึ้นเป็นลำดับ (4.0% และ 4.5%) สวัสดิ์ โสภะ เลขาธิการสมาคมมิตรภาพไทย-เวียดนาม และกรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการผลิตสุราและเทคนิค บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ ฐานเศรษฐกิจถึงลู่ทางการค้าและการลงทุนในเวียดนามที่ยังเปิดกว้าง แม้จะมีอุปสรรคและความท้าทายบางประการรออยู่

สินค้าคุณภาพของไทยเป็นที่นิยม
                เมื่อพูดถึงการนับถอยหลังสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจเดียวกันในปี2558 ทางเวียดนามเขาก็มีความเตรียมพร้อม เท่าที่ทราบมา เขามีการเตรียมการโดยเฉพาะในเรื่องของการลดภาษีลงมาเหลือ 0% ในปี 2558 เหมือนกับประเทศอื่นๆในอาเซียน นอกจากนี้ยังมีการสัมมนา การให้ข้อมูลแก่ภาคธุรกิจและประชาชนเหมือนๆกับที่เราทำอยู่ เป็นการเตรียมความพร้อมในลักษณะ รู้เขา รู้เราซึ่งจะช่วยในเรื่องการรับมือและแข่งขัน เป็นการรู้เขา รู้เรา ซึ่งรวมถึงในแง่ภาษา วัฒนธรรม รวมทั้งการเรียนรู้รสนิยมหรือสิ่งที่ผู้บริโภคของเขาชื่นชอบในสินค้าประเภทต่างๆ ผมว่าไทยเองก็ต้องเตรียมรับมือแบบรู้เขา รู้เราเช่นกัน หากเราต้องการนำสินค้าไปขายเวียดนาม โดยเฉพาะพวกผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) ที่ใช้ต้นทุนการผลิตน้อย โอกาสก็ยังมีอยู่มากโดยการนำสินค้าผ่านชายแดนทางภาคอีสาน สามารถขนส่งโดยใช้ถนนเส้น R9 ซึ่งก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วเชื่อมจากไทยที่มุกดาหาร ผ่านไปลาว ไปเวียดนามโดยใช้เวลาไม่มากนัก เป็นเส้นทางที่เราใช้ค้าขายกันได้ ผู้ค้าของเราเองต้องตื่นตัว ผู้ประกอบการในต่างจังหวัดก็ต้องตื่นตัวด้วย จะทำให้การค้าขายเพิ่มพูนขึ้นได้ในอนาคตข้างหน้า ในเรื่องของการค้าขายนั้น ไทยเราค่อนข้างได้เปรียบเพราะแบรนด์เนมสินค้าไทยเป็นที่ชื่นชอบของคนเวียดนามอยู่แล้ว เวลาเขามาเมืองไทยก็จะมาซื้อสินค้าจากไทยกลับไปกันเยอะ เอาใส่กระเป๋าใบใหญ่ๆกันไป เพราะสินค้าบ้านเรามีคุณภาพ ดังนั้นโอกาสสินค้าไทยที่จะเข้าไปสู่ตลาดเวียดนามหลังภาษีเหลือ 0% ในปี 2558 นั้นผมว่าจะมีมากขึ้น ส่วนการลงทุน ไทยเราเข้าไปลงทุนในเวียดนามนานหลายปีแล้วและมีความต่อเนื่อง อีกทั้งโอกาสและศักยภาพของเวียดนามที่จะเอื้อต่อนักลงทุนต่างชาตินั้นก็ยังมีอยู่อีกมากเพราะเป็นประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มดาวรุ่งกำลังพัฒนา หรือ new emerging economies มีการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับประเทศในยุโรปและอเมริกาที่เศรษฐกิจกำลังแย่




สำหรับอุตสาหกรรมที่น่าเข้าไปลงทุนในเวียดนาม
                มีความหลากหลายซึ่งบริษัทไทยก็ได้เข้าไปลงทุนอยู่แล้วหลายราย เช่น อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ กล่องกระดาษ พลาสติก ขวดแก้ว กระป๋อง พวกภาชนะ นอกจากนี้ ที่ผมมองว่าน่าจะไปได้ดีคืออุตสาหกรรมด้านไอที-คอมพิวเตอร์ เพราะมันจะเข้ามารองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเราจะเห็นได้ว่าประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ทั้งหลายมีความจำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีทางด้านนี้เยอะแทนระบบ manual ที่จะหมดไป แล้วมีระบบ digital เข้ามาแทน
การแข่งขันและความท้าทาย
                ในแง่อุตสาหกรรมอาหารเนื่องจากเวียดนามเองก็เป็นแหล่งผลิตอาหารเหมือนกับไทยเราซึ่งเขาเองก็อุดมสมบูรณ์ โอกาสของผู้ส่งออกของไทยจึงเป็นพวกอาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป ส่วนข้าวนั้น ข้าวเวียดนามระดับคุณภาพยังต่างจากของไทยซึ่งไทยเรามีข้าวหอมมะลิที่ได้รับการยอมรับจากสถาบันนานาชาติว่าเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลกขณะที่เวียดนามมีคุณภาพด้อยกว่า ข้าวไทยเราจึงมีราคาสูงกว่า เป็นคนละตลาดกัน

สินค้าที่เวียดนาม
                เขามีความแข็งแกร่งก็คล้ายๆสินค้าโอท็อปของเราเป็นสินค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ง่าย แต่เขามีค่าจ้างแรงงานถูกกว่าเรา ต่างกันตรงที่ว่าเวลานี้สินค้าของไทยเราจัดเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ผมจึงมองว่าโอกาสสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยเรายังมีอยู่มาก แต่แน่นอนว่า ด้วยค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่า สินค้าที่เขาใช้แรงงานมากเช่น สิ่งทอ ก็จะผลิตได้ถูกกว่าบ้านเรา เขาก็จะได้เปรียบเราถ้าลูกค้าไม่เน้นเรื่องคุณภาพมากนัก ถ้าหากเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของไทยอยากเข้าไปขายในเวียดนามก็ต้องเอาแบรนด์เนมเข้าไป

การเข้าไปลงทุนและค้าขายในตลาดเวียดนาม
                เวลานี้ถือว่ายังไม่สายเกินไปแม้ว่าการเข้าไปปักหลักได้ก่อนจะมีความได้เปรียบและมีโอกาสเติบโตได้มากกว่า อย่างไรก็ตามที่บอกว่าไม่สาย เพราะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โอกาสจึงมีอยู่ตลอด ขึ้นอยู่กับความสามารถของบริษัทนั้นๆ ที่จะเจาะเข้าไป ปัจจุบันไทยเองก็ได้เปรียบดุลการค้าเวียดนามอยู่แล้ว ถามว่าความท้าทายมีเรื่องอะไรบ้าง ผมมองว่าที่ท้าทายที่สุดเป็นเรื่องของการกระจายสินค้า เพราะเวียดนามเป็นประเทศที่มีพื้นที่ยาวมาก การขนส่งจึงลำบากมาก ไม่ว่าจะขนจากเหนือลงใต้หรือจากใต้ขึ้นไปทางเหนือ ถ้าจะให้สะดวกต้องมีการตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่ตอนกลางของประเทศ ส่วนเรื่องการหาอาคารสำนักงานให้เช่าในเวียดนามไม่มีปัญหาเพราะเขามีการก่อสร้างอาคารใหม่ๆขึ้นอย่างต่อเนื่อง



6.AEC ประเทศไทย

                ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่เน้นการทำเกษตรกรรม และมีสินค้าเกษตรมากพอที่จะทำการส่งออกไปยัง AEC โดยมีการส่งออกสินค้าจำพวก ยางพารา, น้ำตาลทราย, ข้าว เป็นจำนวนมาก และยังมีสินค้าประเภทอุตสาหกรรรมที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆของอาเซียนด้วยเช่น อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์และส่วนประกอบ

จุดแข็ง
                -ไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมหลายด้าน เช่น ยานยนต และอิเล็กทรอนิกส์ หากมีการลงทุนหรือวิจัยก็อาจจะต่อยอดจากประเทศไทยที่มีโรงงานผลิตตั้งอยู่แล้ว
                -สถาบันการเงินของไทยมีความมั่นคง นักลงทุนสามารถระดมทุนจากสถาบันการเงินของไทยได้อย่างมั่นใจ และรัฐบาลมีแนวโน้มในการเปิดเสรีภาคการเงินอีกด้วย
                -เนื่องจากไทยตั้งอยู่ตรงกลางของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้มีความได้เปรียบในเรื่องศูนย์กลางต่างๆเช่น การคมนาคมทางบก, การคมนาคมทางอากาศ, การค้า, การลงทุน หรือแม้กระทั้งศูนย์แสดงสินค้า
                -ไทยมีจุดเด่นเรื่องกาท่องเที่ยวที่ดีและราคาไม่แพงและคนไทยเป็นมิตรทำให้ส่งเสริมกันกับเรื่องของศูนย์การการคมนาคมทางบกและทางอากาศ
                -ไทยมีความสามารถด้านการแพทย์ที่ดีและราคาถือว่าไม่แพงเมื่อเทียบกับ AEC ประเทศอื่นเช่น สิงคโปร์ และถ้าต่างชาติมารักษาที่ไทยก็จะส่งเสริมกันในเรื่องการท่องเที่ยวในไทยอีกด้วย

จุดอ่อน
                -ไทยมีปัญหาเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองที่ไม่มีความแน่นอน มีปัญหาด้านความคิดทางการเมืองภายในประเทศ และยังมีปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยบริเวณจังหวัดชายแดนใต้
                -ไทยยังคงมีปัญหาเรื่องละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่รุนแรง และไม่จริงจัง โดยมีปัญหาหนักในเรื่อง เพลง,ภาพยนต์,software ต่างๆ
                -ปัญหาการจราจรในเมืองหลวงที่ติดขัด และบริเวณเมืองใหญ่ตามจังหวัดใหญ่ก็เริ่มมีปัญหาการจราจรเช่นกัน โดยเฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑล
                -ประชาชนชาวไทยยังด้อยความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ที่จะเป็นภาษากลางในการสื่อสารเมื่อ AEC เริ่มดำเนินการ



โอกาส
                -ไทยมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะการลงทุนที่นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี การสร้างนวตกรรม การพัฒนาทักษะบุคลากร
                -ไทยเปิดเสรีทางการค้าอย่างเปิดกว้าง ไม่มีการปิดกั้น
                -การลงทุนที่ได้รับการสนับสนุนจาก BOI ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องการถือหุ้นของต่างชาติ ไม่กำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศ และไม่จำกัดปริมาณส่งออก และยังมีสิทธิพิเศษอื่นๆที่ปรับสอดคล้องกับ WTO
                -BOI สนับสนุนอุตสาหกรรมหลักของไทยหลายสาขา คือ การเกษตร พลังงานทางเลือก ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ICT แฟชั่น บันเทิง สุขภาพ การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการเกษตร
                -ภาคบริการบางสาขาของไทยเช่น การแพทย์ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และได้มาตรฐานในราคาไม่แพง สามารถต่อยอดได้

อุปสรรค
                -ประเทศไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันด้านค่าแรงที่ต่ำกว่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลัก เช่นอุตสหกรรมสิ่งทอ อาจจะถูกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่าเช่น ลาว เวียดนาม เมียนมาร์ ผู้ประกอบการต้องปรับตัวไม่เช่นนั้นมีปัญหาแน่นอน
                -ภาษาอังกฤษของประชากรชาวไทยที่ทำธุรกิจขนาดกลางขึ้นไปต้องพัฒนาทักษะภาษาด้านภาษาอังกฤษมิเช่นนั้นแรงงานจากต่างชาติที่ใช้ทักษะภาษาอังกฤษได้จะมาแย่งงาน














7.AEC ประเทศอินโดนีเซีย

                การวิเคราะห์ในภาพรวมถึงศักยภาพด้านการลงทุนของอินโดนีเซียในจุดแข็ง/จุดอ่อน/โอกาส/อุปสรรคในการลงทุน มีข้อสรุปดังนี้

1) จุดแข็ง
                -  เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนด้วยกัน โดยมีประชากร มากถึง 240 ล้านคน หรือเกือบร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดในอาเซียนที่มีประชากรรวม 560 ล้านคน
                -  มีท่าเรือขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไปและการขนส่ง สินค้าทางเรือใช้เวลา 5-7 วัน จากประเทศไทย
2) จุดอ่อน
                -  การให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนของอินโดนีเซียยังค่อนข้างน้อย
                -  ประเทศอินโดนีเซียมีห้องเย็นเพื่อเก็บรักษาสินค้ามีจำนวน น้อยและคุณภาพไม่ดีมากนัก ทำให้สินค้าเกิดความเสียหายได้โดยเฉพาะสินค้าประเภท ผักและผลไม้ เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศในเขตร้อน
3) โอกาส
                -  อินโดนีเซียเรียกเก็บภาษีนำเข้า จากไทยในอัตราค่อนข้างต่ำ
                -  ชาวอินโดนีเซียนิยมซื้ออาหาร รับประทาน และนิยมซื้อสินค้าประเภทอาหารเป็นของฝากแก่กัน
4) อุปสรรค
                -  สภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะทำให้การขนส่งสินค้ามีความจำกัดอยู่ที่การขนส่งทางเรือเป็นหลัก สินค้าเกษตรอาจเกิดความเสียหายได้
                -  ท่าเรือของประเทศอินโดนีเซียยังขาดมาตรฐานในระดับสากล











8.AEC ประเทศมาเลเซีย
จุดแข็ง
                - อุตสาหกรรม ปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรม Bio-diesel เป็นอุตสาหกรรมที่มีระดับการผลิต เพื่อการส่งออก ที่สูง จนทำให้คลังสำรองปาล์มน้ำมันมีจำนวน ลดลง เนื่องจากปริมาณ ความต้องการสูงกว่ากำลังการผลิต และยังมีการส่งเสริมด้านวิจัยและพัฒนาตัวสินค้าให้เกิดความหลากหลาย เช่น การผลิตน้ำมันปาล์มชนิดผง เป็นต้น
                - อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเทคโนยีในรูปแบบต่างๆ ที่มีส่วนในการปรับปรุงและยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมี platform ที่สำคัญ คือ Cyber jaya
                - การยกระดับของมาเลเซีย ในการเป็นศูนย์กลางด้านฮาลาลของโลก และ การวางมาตรฐานสากลสำหรับการกำหนดตราฮาลาล MS 1500 :2004 ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่ดีสำหรับมาเลเซีย รวมทั้งความน่าเชื่อถือของการเป็นประเทศมุสลิม สามารถเพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศ
                - การจัดการด้าน Logistics แบบครบวงจร ช่วยสร้างความสะดวกสบายแก่ผู้นำเข้า และส่งออก มาเลเซียพยายามลดขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบสินค้าและการกำหนดคุณภาพ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ลูกค้าในการใช้บริการ Logistics ของตน

จุดอ่อน
                - มาเลเซียเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยธรรมชาติและวัตถุดิบ แต่จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าบางรายการที่มีการผลิตไม่เพียงต่อปริมาณความต้องการของตลาดภายในประเทศ เช่น ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก เป็นต้น
                - การลงทุนในมาเลเซีย ต้องใช้ต้นทุน ที่สูงกว่าประเทศอื่นๆเมื่อเทียบกับประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน จึงส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเปลี่ยนมาลงทุน ในประเทศที่ต้นทุนต่ำ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุดิบและแรงงาน อาทิ เวียดนาม ไทยและอินโดนีเซีย
                - สินค้าอาหาร ที่ผลิตในมาเลเซีย ยังมีจำกัดและน้อยมากจำเป็นที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อเกิดความหลากหลายและสร้างแรงกระตุ้นให้กับผู้ผลิตภายในประเทศ
                - ธุรกิจการท่องเที่ยวของมาเลเซีย ยังคงจำกัดในวงแคบ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย






โอกาส
                - การพัฒนาการเชื่อมโยงทางอินเตอร์เน็ต (Internet exchange projects) ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการใช้อินเตอร์เน็ต
                - มาเลเซียพยายามทุกในการเจรจากับบริษัทต่างชาติในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมรถยนต์ เพื่อปรับปรุง ออกแบบและพัฒนาโครงสร้างของรถยนต์ เนื่องจากภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงและการขยายตัวที่น้อยลง
- มาเลเซียสามารถสร้างตลาดในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์และประเทศอาหรับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศมุสลิมได้แล้ว แต่กระนั้น ได้มีความพยายามเปิดตลาดแห่งใหม่ ซึ่งมีเป้าหมายในทวีปแอฟริกา

อุปสรรค
                - การแข่งขันของตลาดรถยนต์แห่งชาติมาเลเซีย Proton และ รถยนต์ต่างชาติ ซึ่งมีคุณภาพที่ดีกว่า ส่งผลให้ยอดขายของรถยนต์แห่งชาติมีจำนวนลดลง
                - รัฐ บาลสร้างนโยบายกีดกันภาษีการขายที่ค่อนข้างสูง สินค้าบางรายการไม่สามารถส่งออกไปยังมาเลเซียได้อย่างเต็มที่
                - คู่แข่งรายใหม่ของมาเลเซียด้านเทคโนโลยีอย่างเวียดนาม ได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากต้นทุนที่ค่อนข้างถูก อีกทั้งการศึกษาที่มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
















9. AEC ประเทศฟิลิปปินส์
จุดแข็ง
                -  มีแรงงาน ที่มีความรู้ด้าน IT จำนวน มาก ทำให้ฟิลิปปินส์สามารถพัฒนาและส่งออก สินค้า IT ในระยะเวลาอันสั้น
                -  ประชากร ค่อนประเทศมีความรู้ ภาษาอังกฤษ แต่จุดแข็งนี้เริ่มลดลงในปัจจุบัน คนที่ไม่รู้ภาษา อังกฤษมีเพิ่มขึ้น และผู้ที่รู้ก็ใช้อย่างไม่ถูกต้องนัก  ทำให้มีการส่งคนออกไปทำงานต่างประเทศ และนำรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของคนในประเทศดีขึ้น และมีกำลังซื้อมากขึ้น และเป็นสิ่งดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ หากมีการพัฒนาด้านอื่นๆ  เช่น สาธารณูโภคขั้นพื้นฐาน อาจจะดึงนักลงทุนไปจากไทยได้
                -  ทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่น สัตว์น้ำ ทรัพยากรแร่ พื้นที่ การเกษตรทางภาคใต้
                -  เป็นตลาดที่มีศักยภาพในด้านปริมาณ เนื่องจากมีประชากรจำนวนมาก

จุดอ่อน

                -  มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบราชการอยู่เสมอ กฎระเบียบเข้มงวดและหลายขั้นตอน
                -  มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงสูงในทุกระดับ แม้แต่การเสนอขายสินค้าให้กับบริษัทห้างร้านใหญ่ๆก็ต้องจ่ายเบี้ยบ้ายรายทาง
                -  สหภาพแรงงานแข็งแกร่งและมีบทบาทมาก ทำให้ค่าจ้างแรงงานสูง และมีการเรียกร้องค่าแรงเพิ่มเสมอ ผู้ประกอบ การหลบเลี่ยงปัญหาโดยจ้างคนงานต่ำกว่า 6 เดือน เพื่อมิให้สามารถเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ ทำให้คนงานไม่มีความชำนาญ
                -  ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการจับตัวเรียกค่าไถ่ แม้รัฐบาลกำลังปราบปรามโจรก่อการร้ายอยู่ แต่ยังไม่หมดสิ้นลง ทำให้นักท่องเที่ยวจากต่างชาติไม่เข้ามาเที่ยวในประเทศ ทั้งๆที่มีธรรมชาติสวยงาม โดยเฉพาะทะเลทางตอนใต้ของประเทศซึ่งเป็นที่ซ่องสุมของผู้ก่อการร้าย
                -  สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมีไม่เพียงพอ ไฟฟ้า ดับบ่อย เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก ไม่สามารถรองรับการขยายตัวด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม ได้เต็มที่
                -  ประชากรโดยทั่วไปมีลักษณะนิสัยค่อนข้างเฉื่อยชา ทำงานไม่ละเอียดรอบคอบ และไม่ซื่อสัตย์ ธรรมเนียมการให้/รับเงินทิป ทำให้ทุกคนหวังว่าจะต้องได้รับสิ่งตอบแทนทุกครั้งที่ทำอะไรสักอย่างแม้จะเป็นงานในหน้าที่



โอกาส
-  ไทยสามารถแลกเปลี่ยนสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการผลิต สินค้าสำเร็จรูป เป็นการลดต้นทุน การผลิต เนื่องจากสินค้า IT มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
-  จากการที่มีประชากรมากทำให้เป็นตลาดที่คุ้มกับการเจาะเข้าไป เนื่องจากจะขายได้ใน ปริมาณมาก

อุปสรรค
-  มีการใช้อุปสรรคด้านการค้าที่มิใช่ภาษี (NTB) หลายประการ
-  ใช้ทรัพยากรบุคคลในฟิลิปปินส์ที่มีความได้เปรียบด้านภาษาให้เป็นประโยชน์ด้านการค้าการลงทุนให้มากขึ้น
-  สร้างเครือข่ายกระจายสินค้าไทยให้มีจำนวนมากขึ้น
-  ส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย (Brand Royalty) ในตลาดโดยการเปิดสาขาหรือใช้ระบบ Franchise สินค้าไทยในฟิลิปปินส์




















10.ประเทศบรูไน

จุดแข็ง
- รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 26 ของโลก
- การเมืองค่อนข้างมั่นคง
- เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ของอาเซียน
จุดอ่อน
- ตลาดขนาดเล็ก ประชากรประมาณ 4 แสนคน
- ขาดแคลนแรงงาน

โอกาส
- ประเทศบรูไนต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรหลายรายการเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการในประเทศ เช่น ข้าว ผัก และผลไม้ต่างๆ รวมถึงเนื้อสัตว์
- รัฐบาลมีนโยบายในการสนับสนุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน อุปกรณ์ และการหาตลาด รวมถึงการให้กู้ยืมเงินทุนเพื่อการลงทุนและงดเว้นภาษี
อุปสรรค
- เรือที่บรรทุกสินค้าไปบรูไนมีสินค้าเฉพาะเที่ยวขาไป แต่ไม่มีสินค้าในเที่ยวขากลับ ทำให้ต้นทุน การขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้น

ประเด็นที่น่าสนใจ
มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพาสิงคโปร์เป็นหลัก
ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก

 ขอขอบคุณ
 http://www.thai-aec.com/73#ixzz20UPWILsv

ผู้นําประเทศอาเซียน 10 ชาติ ... รู้กันไหม มีใครบ้าง?


ผู้นําประเทศอาเซียน 10 ชาติ ... รู้กันไหม มีใครบ้าง?

1. เนการาบรูไนดารุสซาลาม หรือ ประเทศบรูไน

          พระมหากษัตริย์ และนายกรัฐมนตรี: สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ 
         ประเทศบรูไน ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กำหนดให้สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยรัชกาลปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ ทรงเป็นพระราชาธิบดีพระองค์ที่ 28 แห่งบรูไน มีพระชนมายุ 66 พรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ดำรงพระอิสริยยศเป็นพระประมุขแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้นำทางศาสนาอิสลามแห่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม

2. ราชอาณาจักรกัมพูชา





          พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี

         ประเทศกัมพูชา ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มีพระชนมายุ 59 พรรษา ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดยมติเป็นเอกฉันท์ของคณะที่ปรึกษาราชบัลลังก์ ภายหลังการประกาศสละราชบัลลังก์ของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระราชบิดา อันเนื่องจากปัญหาทางพระพลานามัย


ฮุนเซน

          นายกรัฐมนตรี : สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน
         ฮุน เซน หรือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ปัจจุบันอายุ 61 ปี เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ตั้งแต่อายุ 33 ปี ในยุคสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดของกัมพูชา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ จากพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เป็น สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน เมื่อ พ.ศ. 2536 

3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย



          ประธานาธิบดี : นายซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน

         ประเทศอินโดนีเซีย ปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี ปัจจุบันมีนาย ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน อายุ 63 ปี ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ถือเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 แห่งอินโดนีเซีย และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน ภายหลังมีการปฏิรูปการเมืองและแก้ไขรัฐธรรมนูญ 

          นายกรัฐมนตรี : ไม่มี

4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

          ประธานาธิบดี : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน

         สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ผู้นำสูงสุดของประเทศเรียกว่า "ประธานประเทศ" เทียบเท่ากับตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ พลโทจูมมะลี ไซยะสอน อายุ 76 ปี เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของประเทศ และดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอีกหนึ่งตำแหน่ง

           นายกรัฐมนตรี : นายทองสิง ทำมะวง

         นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ นายทองสิง ทำมะวง ปัจจุบันอายุ 68 ปี เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และยังดำรงตำแหน่งกรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรค พรรคประชาชนปฏิวัติลาว อีกหนึ่งตำแหน่ง ก่อนหน้านั้นในช่วง พ.ศ. 2549-2553 เคยดำรงตำแหน่งประธานสภาแห่งชาติ

5. ประเทศมาเลเซีย
 
 

          พระมหากษัตริย์ : สมเด็จพระราชาธิบดี สุลตาน มุซตาซีมุ บิลลาฮ์ อับดุล ฮาลิม มุอัซซัม ชาฮ์ อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลตาน บาดิร ชาฮ์ 

         ประเทศมาเลเซียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา รูปแบบคล้ายกับประเทศอังกฤษ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี องค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดี สุลตาน มุซตาซีมุ บิลลาฮ์ อับดุล ฮาลิม มุอัซซัม ชาฮ์ อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลตาน บาดิร ชาฮ์ พระชนมายุ 85 พรรษา ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียลำดับที่ 5 และ 14 และทรงเป็นสุลต่านแห่งรัฐเกดะห์ พระองค์ปัจจุบัน

          นายกรัฐมนตรี : นายนาจิบ ราซะก์

         ดาโต๊ะซรี ฮัจญี โมฮัมมัด นาจิบ บิน ตน ฮัจญี อับดุล ราซะก์ หรือ นายนาจิบ ราซะก์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศมาเลเซีย หรือเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของประเทศ ปัจจุบันอายุ 59 ปี เกิดมาในครอบครัวนักการเมือง เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และสังกัดพรรคอัมโน 


6. สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
กต. แจ้ง เต็งเส่ง เยือนไทย 22-24 ก.ค.
 

          ประธานาธิบดี : พลเอกเต็ง เส่ง
         สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ พม่า ปกครองประเทศด้วยระบบประธานาธิบดี ปัจจุบันคือ พลเอกเต็ง เส่ง หรือ เทียน เส่ง อายุ 67 ปี รับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจาก พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 หลังจากชนะการเลือกตั้งทั่วไป อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ พลเอกเต็ง เส่ง เคย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่า ในช่วงปี พ.ศ. 2550 จนถึง พ.ศ. 2554

          นายกรัฐมนตรี : ไม่มี

7. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

 

         ประธานาธิบดี : นายเบนิกโน อากีโนที่ 3


         ประเทศฟิลิปปินส์เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศสหรัฐอเมริกา จึงรับเอาการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามแบบประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้บริหารประเทศ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศ ซึ่งประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเบนิกโน อากีโนที่ 3 หรือ เบนิกโน ซีเมออน โกฮวงโก อากีโนที่ 3 ปัจจุบันอายุ 52 ปี ดำรงตำแหน่งตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 15 ของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

          นายกรัฐมนตรี : ไม่มี

8. สาธารณรัฐสิงคโปร์
 
 

          ประธานาธิบดี : นายโทนี ตัน เค็ง ยัม

         ประเทศสิงคโปร์ ปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายโทนี ตัน เค็ง ยัม ปัจจุบันอายุ 72 ปี เพิ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 หลังจากทำคะแนนเฉือนชนะคู่แข่งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสิงคโปร์ ไปเพียง 0.34% จึงได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสิงคโปร์ คนที่ 7 นับแต่นั้นมา

          นายกรัฐมนตรี : นายลี เซียน ลุง 

         นายลี เซียน ลุง ปัจจุบันอายุ 60 ปี เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงคโปร์ ต่อจากนายโก๊ะ จ๊ก ตง ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของประเทศ ทั้งนี้ นายลี เซียน ลุง เป็นบุตรชายคนโตของ นายลี กวนยู อดีตนายกรัฐมนตรี

9. ราชอาณาจักรไทย 

ในหลวง

          พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

        ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเรียกรวมกันว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งพระประมุขของประเทศมาตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 จนถึงขณะนี้ทรงครองราชย์มาแล้ว 66 ปี ถือเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระชนม์ชีพอยู่ที่เสวยราชย์นานที่สุดในโลก และยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย



          นายกรัฐมนตรี : นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 

         นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย หลังจากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554 ทำให้นางสาวยิ่งลักษณ์ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา นับเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย 

10. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

 
 

          ประธานาธิบดี : นายเจือง เติ๊น ซาง

         ประเทศเวียดนามมีการปกครองในรูปแบบคอมมิวนิสต์ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ โดยประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเจือง เติ๊น ซาง อายุ 62 ปี เป็นสมาชิกระดับผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 9 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับคะแนนสูงสุดจากการลงคะแนนเลือกประธานาธิบดี 

          นายกรัฐมนตรี : นายเหงียน เติ๊น สุง

         นายเหงียน เติ๊น สุง ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 6 ของประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ปัจจุบันมีอายุ 63 ปี สังกัดพรรคคอมมิวนิสต์ ในอดีตเคยเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งรัฐเวียดนาม (State Bank of Vietnam) 

         และนี่ก็คือรายชื่อผู้นำทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน จะเห็นว่า ผู้นำของแต่ละประเทศจะมีสถานะ และบทบาทแตกต่างกันไปตามระบอบการปกครองที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งเราคนไทยก็ควรจะรู้จักข้อมูลของประเทศเพื่อนบ้านร่วมอาเซียนไว้บ้าง ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า